การควบคุมความสามารถของคอมเพรสเซอร์  
 

เรียบเรียงโดย Mr.Refrig

ปัจจุบันการควบคุม Capacity ของคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะสมกับความต้องการของภาระในระบบทำความเย็น (Refrigeration) ระบบปรับอากาศ (Air Condition) และระบบปั๊มความร้อน (Heat Pump) ที่ใช้งานตามความเป็นจริงนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการออกแบบจะกำหนดให้คอมเพรสเซอร์มีขนาดที่เท่ากันหรือใหญ่กว่าภาระที่ต้องการทำความเย็น ทั้งนี้เพื่อให้ประสิทธิภาพของการทำความเย็นสามารถทำได้อย่างเต็มที่ในช่วงแรก แต่เมื่อห้องเย็น หรือห้องที่ปรับอากาศสามารถทำความเย็นที่ต้องการแล้ว (Set Point) ภาระในการทำความเย็นก็จะมีไม่มาก พอถึงจุดนี้ทำให้ภาระการทำความเย็นจะน้อยลงจึงทำให้คอมเพรสเซอร์มีขนาดใหญ่กว่าภาระที่ทำ จะส่งผลทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดต่อบ่อยครั้งจนทำให้เกิดความเสียหายได้ รวมทั้งการสิ้นเปลืองพลังงาน ดังนั้นจึงได้มีการคิดวิธีที่จะควบคุมความสามารถของคอมเพรสเซอร์ให้ทำงานสอดคล้องกับภาระการทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ชนิดต่างๆ ซึ่งจะมีเทคนิคการควบคุมที่ต่างกันออกไป

ในการควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์นั้นจะใช้แรงดันทางด้านดูด (Suction Pressure) มาใช้ในการควบคุมให้ คอมเพรสเซอร์เพิ่มหรือลดจำนวนการทำงาน โดยธรรมชาติเมื่อเกิดภาระการทำความเย็นมากจะทำให้สารทำความเย็นเดือดมากจนทำให้แรงดันทางด้านดูดสูงขึ้น และในทางตรงกันข้ามหากภาระการทำความเย็นลดลงจะทำให้สารทำความเย็นเดือดน้อยลงจนทำให้แรงดันทางด้านดูดลดลง ดังนั้นเราจึงใช้คุณสมบัติข้อนี้ในการควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะสมกับภาระการทำความเย็นที่เกิดขึ้น

ในการใช้งานนั้นเราจำเป็นที่จะต้องควบคุมแรงดันทางด้านดูด (Suction Pressure Set Point) ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่ต้องการใช้งานคือ

- อุณหภูมิ 15-20 oC Suction Pressure จะต้องอยู่ประมาณ 55-60 psi
- อุณหภูมิ 0-5 oC Suction Pressure จะต้องอยู่ประมาณ 35-40 psi
- อุณหภูมิ -10-(-25) oC Suction Pressure จะต้องอยู่ประมาณ 15-20 psi
- อุณหภูมิ -35-(-40) oC Suction Pressure จะต้องอยู่ประมาณ 0-(-5) psi

1 การควบคุมขนาดความจุของคอมเพรสเซอร์ชนิดลูกสูบ จะใช้วิธีการ Part สารทำความเย็นจากฝาสูบทำให้ฝาสูบชุดนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติโดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า CR ทำหน้าที่ในการ Part สารทำความเย็น คอมเพรสเซอร์ชนิด 4 สูบ สามารถควบคุมได้ 50% คอมเพรสเซอร์ 6 สูบ สามารถควบคุมได้ 66% และ 33% คอมเพรสเซอร์ชนิด 8 สูบ สามารถควบคุมได้ 75% และ 50% การควบคุมในลักษณะนี้จะมีลักษณะการทำงานเป็นระดับขั้น (Step) ดังนั้นเพื่อให้คอมเพรสเซอร์สามารถทำงานได้เต็มที่ควรจะเลือกภาระการทำความเย็นให้มีความเหมาะสมกับการทำงานของคอมเพรสเซอร์


แสดงวิธีการติดตั้งชุด Capacity Control


(ก) Full Load Operation (ข) Part Load Operation
แสดงวิธีการติดตั้งชุด Capacity Control และส่วนประกอบต่างๆ

Full Load Operation คือสภาวะการทำงานปกติของคอมเพรสเซอร์ โดยที่โซลินอยด์วาล์วยังไม่ทำงาน

Part Load Operation คือสภาวะการที่ลัดการทำงานของลูกสูบ โซลินอยด์จะทำงานดันชุดสปริงลงมาปิดทางด้านดูด ( Suction Port) ไว้ทำให้สารทำความเย็นไม่สามารถไหลผ่านไปได้ ลูกสูบชุดนั้นจึงไม่สามารถอัดสารทำความเย็นได้