ข้อกำหนดในการเขียนโปรแกรม
        
1.ไม่สามารถเชื่อมโยงหน้าสัมผัสใน 2 บรรทัดเข้าด้วยกันได้

รูปที่ 1 แลดเดอร์ไดอะแกรมที่ผิด

        สามารถเขียนใหม่ และวงจรการทำงานเหมือนเดิมดังนี้

รูปที่ 2 แลดเดอร์ไดอะแกรมที่ถูก


        2. เมื่อต้องการเอาท์พุต ON ตลอดเวลา ให้ใช้ FLAG ที่เป็นแบบ Normally ON (25313) ใน SR Area มาเป็นตัวสร้างเงื่อนไข โดยไม่สามารถต่อเอาท์พุตได้โดยตรง เพราะผิดเงื่อนไข

รูปที่ 3.1 แลดเดอร์ดอะแกรมที่ผิด
รูปที่ 3.2 แลดเดอร์ไดอะแกรมที่ถูก


         แต่ก็มียกเว้นบางคำสั่ง เช่น INTERLOCK CLEAR JUMP END และ STEP

         3. จำนวนคอนแทค (Contact) ของ I/O Internal Auxiliary Relay TIM/CNT จะมีการโหลดเพื่อนำมาเขียนโปรแกรมเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามความประสงค์ของผุ้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม การเขียนโปรแกรมที่ดีจะต้องพยายามประหยัดให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ซึ่งเปรียบเทียบให้เห็นไดอะแกรม A และ ไดอะแกรม B จะสังเกตุเห็นได้ว่าการเขียนไดอะแกรม B จะประหยัดคำสั่งได้ 2 คำสั่งในขณะที่โปรแกรมทำงานได้เหมือนกัน

รูปที่ 4 คำสั่งที่เขียนแบบไดอะแกรม A
รูปที่ 5 คำสั่งที่เขียนแบบไดอะแกรม B

          4. แลดเดอร์ไดอะแกรม การพิจารณาจะกระทำจากซ้ายไปขวาเท่านั้น ดังตัวอย่างเช่น

รูปที่ 6 การทำงานจากซ้ายไปขวาเท่านั้น
รูปที่ 7 การทำงานจากซ้ายไปขวาเท่านั้น

          จากไดอะแกรม A ถ้าคอนแทค 00 , 02 และ 03 มีสภาวะ "ON" ก็ไม่สามารถทำให้เอาท์พุต 01001 "ON" ได้เลย จะต้องทำการจัดโปรแกรมเสียใหม่ ดังรูปที่ 7

           5. จำนวนคอนแทคที่ใช้ในการต่ออันดับ (Series) หรือ ขนาน (Parallel) ไม่มีขีดกำกัด จะใช้เท่าใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
           6. เอาท์พุตทุกๆ ตัวมีคอนแทคช่วย (Auxiliary Contract) เพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมและไม่มีขีดจำกัดเช่นกัน
           7. ไม่สามารถเขียนโปรแกรมให้คอนแทคอยู่ทางด้านขวาของคอยล์ (Coil) ได้

รูปที่ 8.1 โปรแกรมที่ไม่ถูกต้อง
รูปที่ 8.2 โปรแกรมที่ถูกต้อง

           8. ไม่สามารถเขียนโปรแกรมให้มีเอาท์พุตคอยล์ หมายเลขเดียวกันซ้ำกันหลายครั้งได้ ต้องจัดรูปเสียใหม่

รูปที่ 9 โปรแกรมที่ไม่ถูกต้อง
รูปที่ 10 โปรแกรมที่ถูกต้อง

          9. เอาท์พุตคอยล์ สามารถเขียนโปรแกรมแบบขนาน (Parallel) ได้ เพื่อรับเงื่อนไขของคอลแทคชุดเดียวกัน

รูปที่ 11 เอาท์พุตคอยล์เขียนบบขนานได้

           10. โปรแกรมจะถูกสั่งงาน จากบรรทัดแรกจนกระทั่งถึงคำสั่ง End ที่เป็นคำสั่งแรก เพราะว่าคำสั่ง End อาจจะมีหลายตำแหน่งก็เป็นได้ ที่เป็นเช่นนี้เพื่อจุดประงค์สำหรับทดสอบการทำงาน กรณีแยกโปรแกรมออกเป็นส่วนๆ และง่ายต่อการตรวจสอบแก้ไข้โปรแกรม

            อุปกรณ์สำหรับป้อนโปรแกรม

รูปที่ 12 ตำแหน่งของ Key Mode บนแป้นกดโปรแกรม

รูปที่ 13 ตำแหน่งแป้นกดโปรแกรม