4. การใช้คำสั่ง IL (02), ILC (03)

          คำสั่ง IL และ ILC จะต้องใช้ร่วมกันคือ ถ้าเริ่มต้นมีการใช้คำสั่งด้วย IL เมื่อใดแล้วถ้าต้องการสิ้นสุดการทำงานต้องจบด้วย ILC เงื่อนไขของคำสั่งคือ คอนแทคตรงหน้าส่วนของ IL มีสภาวะ “ON” จะทำให้โปรแกรมที่อยู่ระหว่าง IL และ ILC ทำงานเป็นปกติ แต่ถ้าคอนแทคตำแหน่งดังกล่าวมีสภาวะ “OFF” จะทำให้การทำงานของโปรแกรมระหว่าง IL และ ILC ไม่ทำงาน ในขณะเดียวกัน Output Coil ในช่วงนั้นจะมีสภาวะ “OFF” ด้วย

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

5. การใช้คำสั่ง JMP (04) และ JME (05)

          การใช้งานคำสั่งคู่นี้จะต้องใช้งานคู่กัน เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างคำสั่ง JMP และ JME จะมีเงื่อนไขการทำงานเป็นปกติ ในกรณีที่ชุดคอนแทคตรงส่วนหน้าของ JMP มีสภาวะเป็น “ON” แต่ถ้าชุดคอนแทคดังกล่าวมีสภาวะเป็น “OFF” เมื่อใด Output, Timer, Counter, Keep ที่อยู่ระหว่างคำสั่งดังกล่าวจะยังคงค้างสภาวะเอาไว้เช่นเดิม และจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ถ้าชุดของคอนแทคมีสภาวะ “ON” เราใช้ JMP 00 ได้หลายครั้งตามตรงการ แต่ JMP 01 ถึง 49 สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียว

6. การใช้คำสั่ง DIFFERENTIATE UP and DOWN- DIFU (13), DIFD (14)

          คำสั่งนี้ DIFU (13) และ DIFD (14) จะเป็นคำสั่งที่ทำงานเพียงขอบขาขึ้น หรือขอบขาลงของอินพุตเท่านั้น และจะทำงานเพียงช่วง One Cycle Time เท่านั้น

ตัวอย่างการใช้งาน

          ต้องการให้อินพุต 000.00 ที่มีความไวในการ ON – OFF สามารถ ON Output Lamp 010.00 ให้ติดได้โดยอินพุต 000.01 เป็นตัวสั่ง OFF

7. การใช้คำสั่ง TIMER: TIM

          ใช้ในการจับเวลาและตั้งเวลา โดยพื้นฐานแล้วต้องเข้าไปกำหนดค่า 2 ค่าคือ N และ SV ตามตัวอย่างข้างล่าง

     N      =      Timer Number ( เบอร์ 000-255) เลือกว่าจะใช้ Timer ตัวที่เท่าใด

     SV     =      Set Value ตั้งค่าเวลา ใช้กำหนดว่าจะให้ Timer ตั้งเวลานานเท่าใดซึ่ง SV ที่ตั้งนั้น

                     จะถูกคูณด้วย 0.1 เพื่อแปลงเป็นระยะเวลาจริงซึ่งสามารถ

  • กำหนด SV เป็นค่าคงที่ # 0000 – 9999 (000.0 – 999.9 วินาทีคูณด้วย 0.1 วินาที)
  • กำหนด SV เป็น แอดเดรส IR, SR, AR, DM, HR, LR โดยใส่ค่าตั้งเวลาที่เป็นค่าคงที่ 0000 – 9999 ไว้ใน แอดเดรส ที่อ้างถึงอีกทีหนึ่ง (ค่าที่กำหนดจะคูณด้วย 0.1 วินาทีเช่นเดียวกับการกำหนดแบบค่าคงที่)

          เมื่อมีสัญญาณสั่งให้ Timer ทำงาน คำสั่ง Timer จะเริ่มนับเวลาตามค่าที่ตั้งไว้ใน Timer เมื่อนับครบเวลา หน้า Contact ของ Timer ตัวนั้น ๆ ก็จะ “ON” แต่ถ้าสัญญาณที่ส่งให้ Timer ทำงานหายไป Timer ก็จะถูก Reset

ตัวอย่างการใช้งาน

          การใช้งานของคำสั่ง Timer เมื่ออินพุต 000.00 “ON” ไปได้ 5 Sec เอาต์พุต 010.00 จะ ON และ เอาต์พุต 010.01 จะ OFF

8. การใช้คำสั่ง Counter – CNT

          เป็นคำสั่งที่ใช้นับจำนวนครั้งของสัญญาณ อินพุต ที่ ON แต่ละครั้ง ซึ่งเป็นคำสั่งที่นับลงจากค่าที่ตั้งไว้ (Set Value)

     N      =      Counter Number ( เบอร์ 000-255) เลือกว่าจะใช้ Counter ตัวที่เท่าใด

     SV     =      Set Value ตั้งค่าจำนวนนับ ใช้กำหนดว่าจะให้ Counter นับสัญญาณอินพุตเป็น

                    จำนวนกี่ครั้ง หน้า Contact Output ของ Counter จึงจะเริ่มทำงานซึ่งสามารถ

  • กำหนด SV เป็นค่าคงที่ # 0000 – 9999
  • กำหนด SV เป็น แอดเดรส IR, SR, AR, DM, HR, LR โดยใส่ค่าตั้งเวลาที่เป็นค่าคงที่ 0000 – 9999 ไว้ใน แอดเดรส ที่อ้างถึงอีกทีหนึ่ง

     CP     =      ขานับ เมื่อมีสัญญาณอินพุตในช่วงที่เปลี่ยนสถานะจาก OFF เป็น ON เข้ามาที่ขานี้

                    Counter จะนับถอยหลังลง 1

     R       =      ขา Reset เมื่อมีสัญญาณอินพุตเข้ามาที่ขานี้ เอาต์พุตของ Counter จะหยุดทำงาน

                    และนับค่าของ Counter จะถูก Reset กลับไปเท่ากับค่าตั้งจำนวนนับ (SV)

 

ตัวอย่าง

      เราใช้คำสั่ง Timer หมายเลข 000 แล้ว จะใช้คำสั่ง Counter หมายเลข 000 อีกไม่ได้ จะต้องใช้หมายเลขอื่น ๆ

ตัวอย่าง

          การใช้งานของคำสั่ง Counter เมื่อ อินพุต 000.00 ON 1 ครั้ง Counter จะนับ 1 ครั้ง ถ้าอินพุต 000.00 ON ครบ 10 ครั้ง จะทำให้คำสั่ง Counter ทำงานพร้อมกับ Contact ของ Counter (CNT 000) จะทำงานด้วย และจะถูก Reset ด้วยอินพุต 000.02